ผู้เยี่ยมชม

รายงานผลฝึกงานประจำเดือน พฤศจิกายน 51

จากการที่ได้ฝึกงานมาในระยะเวลา 1 เดือน ดิฉันได้ประสบการณ์ในการถ่ายบัตรประชาชน ออกบัตรประชาชน และอะไรหลายๆอย่าง ได้รู้ถึงการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ได้ปฏิบัติงานที่นั้นว่าแต่ละวันพวกพี่เค้าได้ทำอะไรกันบ้าง และไดมีโอกาสในการได้พูดคุยกับประชาชนที่ได้ใช้บริการ นับว่าเป็นประสบการณ์อย่างหนึ่งของชีวิตแฃเลยที่เดียว

รายงานการฝึกงานประจำเดือนธันวาคม 2551

เดือนนี้ดิฉันได้เปลี่ยนงานจากที่เคยทำเกี่ยวกับถ่ายบัตรประชาชนได้ถูกเปลี่ยนไปอยู่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ซึ่งเป็นงานที่ยากมากเพราะต้องรู้เรื่องเกี่ยวกับข้อมูลฝ่ายทะเบียนราษฏร์ทั้งหมด เพราะเวลาประชาชนมาขอคำปรึกษาใดๆเราก็สามารถที่จะให้คำปรึกษาได้ทุกคำถามของปัญหา ตอนแรกก็ยังไม่ค่อยชำนาญพอทำไปสัประมาณ 1 อาทิตย์ก็เริ่มพอทำเป็นแต่ถ้าหากมีปัญหาใดๆก็จะปรึกษาพี่ที่ดูแลอยู่

รายงานผลประจำเดือนมกราคม

จากการที่ได้ฝึกมาทั้งหมด 3 เดือนเต็ม ดิฉันเหมือนได้ทำงานที่อำเภอนั้นจริงๆเพราะดิฉันทำงานที่นั้นเป็นทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการถ่ายรูปในบัตรประชาชน การแจ้งย้ายเข้า - ย้ายออก และอะไรอีกหลายอย่างมันคุ้นค่ากับการได้ไปฝึกจริงๆ

รายงานผลประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2552

นี่เป็นอาทิตย์สุดท้ายของการฝึกงาน รู้สึกใจหายอย่างไงไม่รู้ เพราะดิฉันฝึกงานตั้ง 3 เดือนมันรู้สึกผูกพันพอฝึกจบแล้วก็เลยแปลกแปลก

วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

รายงานผลประจำเดือนมกราคม

จากการที่ทำงานทั้งหมด 3 เดือนเต็ม ดิฉันคิดว่าตัวของดิฉันได้ประสบการณ์มากในการฝึกครั้งนี้ เพราะดิฉันได้เข้าไปมีส่วนร่วมหลายๆอย่างในการทำงานของอำเภอ ยกตัวอย่างเช่น ได้ออกนอกพื้นที่ไปทำที่ห้วยประดุก สนุกดี

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552

รายงานการฝึกงานประจำเดือนธันวาคม 2551

เดือนนี้ดิฉันเปลี่ยนงานจากที่เคยทำเกี่ยวกับทะเบียนราษฏร์ ก็เปลี่ยนงานมาอยู่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ซึ่งเป็นงานที่อยากมากเพราะเราไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร เพราะอยู่ฝ่ายประชาสัมพันธ์จะต้องให้คำปรึกษาในทุกๆด้านของงานทะเบียยนราษฏร์ เช่น การย้ายเข้า - ย้ายออก เป็นต้น แต่พอทำไปสักพักก็เริ่มชินสามารถอยู่คนเดียวได้โดยไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่คอยบอก

วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2551

1.ชื่อหน่วยงานและสถานที่ตั้ง


หน่วยงาน ที่ว่าการอำเภอ ตั้งอยู่ที่ ถนน หน้าอำเภอ ตำบล หน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี (ใส่รูปภาพประกอบ)

2.คำขวัญของจังหวัดราชบุรี

คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง เมืองโอ่งมังกร วัดขนอนหนังใหญ่ ตื่นใจถ้ำงาม ตลาดน้ำดำเนิน เพลินค้างคาวร้อยล้าน ย่านยี่สกปลาดี"

3.สถานที่น่าสนใจในจังหวัดราชบุรี

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อำเภอเมืองราชบุรี เป็นวัดเก่าแก่ มีพระปรางค์ สร้างไว้ตั้งแต่ สมัยขอม เรืองอำนาจ เข้ามาปกครองสุวรรณภูมิ มีลักษณะจำลองแบบ พระธาตุนครวัด ชาวบ้านนิยมเรียกวัดหน้าพระธาตุ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติราชบุรี ตั้งอยู่ที่ถนนวรเดช ริมแม่น้ำแม่กลอง ตัวอาคาร เคยเป็นที่ทำการศาลากลางจัวหวัด มาก่อน และได้เปลี่ยนเป็น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๑ ภายในจัดแสดงโบราณวัตถุ ที่พบในราชบุรี ตั้งแต่สมัยก่อนประวัตถิศาสตร์ โบราณวัตถุ จากเมืองโบราณบ้านคูบัว วัฒนธรรมของ กลุ่มชนต่าง ๆ เช่น ลาวโซ่ง กระเหรี่ยง ไทยวน และการผลิตโอ่งราชบุรี เป็นต้น เปิดให้เข้าชมทุวัน เว้น วันจันทร์ และวันอังคาร ตั้งแต่เวลา ๙.๐๐-๑๖.๐๐ น.
เมืองโบราณที่บ้านคูบัว อยู่ห่างจากตัวเมือง ไปทางทิศใต้ ๕ กิโลเมตร เป็นเมือง ในสมัยทวารวดี ทางกรมศิลปากร ได้ขุดค้นและศึกษา เรื่องเมืองโบราณ ที่คูบัว ได้พบหลักฐาน ทางโบราณคดีต่าง ๆ มากมาย เช่น เศียรพระพุทธรูป สมัยโบราณต่าง ๆ ซึ่งหลักฐานต่าง ๆ เหล่านี้ ได้ตั้งแสดง ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และมีบางส่วน เก็บรักษาไว้ ที่วัดโขลง ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี จากการศึกษา และค้นคว้า เมืองโบราณ ที่คูบัวนี้ ทำให้ทราบว่า ได้รับอิทธิพล ศิลปกรรม จากช่างสมัยราชวงศ์คุปตะ ประเทศอินเดีย

4.จำนวนบุคลากร

บุคลากรในหน่วยงาน ที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ประกอบไปด้วย
1 นาย นิคม มณีจันทร์ ตำแหน่ง ปลัดอำเภอ(จพง.ปค.8) ฝ่ายบริหารงานปกครอง
2 นายนายสายชล จันทร์เพ็ญ ตำแหน่ง ปลัดอำเภอ(จพง.ปค.7) ฝ่ายความมั่นคง
3 นายปราโมทย์ อุทัยนา ตำแหน่ง ปลัดอำเภอ(จพง.ปค.5) ฝ่ายอำนาจความเป็นธรรม
4 นายเชน สร้อยบัว ตำแหน่ง ปลัดอำเภอ(จพง.ปค.7) ฝ่ายทะเบียนและบัตรประจำตัวประชาชน
5 นางทัศนีย์ ทองกลิ่น ตำแหน่ง สำนักงานอำเภอ

การเรียนรู้เรื่องบล็อก

วันนี้วันที่ 13 ตุลาคม 2551 ได้เข้ามาอบรมคอมพิวเตอร์ ได้รู้ถึงวิธีการตกแต่งบล็อก องค์ประกอบ ต่างๆที่ไม่เคยรู้มาก่อน แต่จะว่าไปเรียนไปเรียนมามันก็ยากเอาการอยู่เหมือนกันเพราะมันไม่เคยเรียนมาก่อน พอมาเรียนอีกทีก็ไม่ค่อยจะรู้เรื่องซะเท่าไรหรอก แต่จะพยายามให้มากว่านี้แล้วกัน เพราะการเรียนตรงนี้สามารถนำเอาไปใช้ในด้านต่างๆได้เป็นอย่างดี สู้ๆเข้านะจ๊ะเราคือความหวังของพ่อและแม่

5.แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์

1. วัดมหาธาตุวรวิหาร
2. ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
3. เขาแก่นจันทร์
4. เขาวัง
5. เมืองโบราณคูบัว
6.วัดหนองหอย
7. หลวงพ่อแก่นจันทร์

รัฐประศาสนศาสตร์

1. ควรมีพื้นฐานความรู้และชอบศึกษาในกลุ่มสาระฯ วิชาสังคมศึกษา โดยเฉพาะสาระการเรียนรู้ด้านหน้าที่พลเมือง และกฎหมาย หรือ ความรู้ทั่วไปทางรัฐศาสตร์ นั่นเอง
2. สนใจและติดตามข่าวสารบ้านเมืองโดยเฉพาะข่าวการเมือง ข่าวเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน ข่าวเศรษฐกิจการเมือง และนโยบายของรัฐบาล โดยสามารถวิเคราะห์วิจารณ์เหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ต่างๆ เหล่านั้นได้อย่างเป็นระบบและมีเหตุผล
3. ชอบและสนใจวิชาด้านการบริหารองค์กรขนาดใหญ่ (Bureaucracy) เพื่อการพัฒนาประเทศ (Development Administration) โดยเฉพาะองค์กรที่มิได้มุ่งแสวงหากำไร (Non-Profit Organization) แต่อย่างไรก็ตาม ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาวิชานี้สามารถนำความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือด้านการบริหารไปปรับใช้ในองค์กรธุรกิจที่แสวงหากำไรได้เช่นกัน
4. ต้องพร้อมที่จะเรียนรู้สหวิทยาการ เนื่องจากสาขาวิชานี้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสาขาวิชาอื่นๆ มากมาย เช่น เศรษฐศาสตร์การเงิน-การคลัง การบัญชี การบริหารและการจัดการ กฎหมายปกครอง การพัฒนาสังคม การสื่อสารองค์กร จิตวิทยา และรัฐศาสตร์สาขาอื่นๆ
5. ควรมีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สถิติ และภาษาอังกฤษอยู่ในเกณฑ์ดี
6. ต้องมีอุดมการณ์ที่จะทำงานเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน โดยไม่ใช้กลไกของระบบราชการมากอบโกยผลประโยชน์เข้าพวกพ้อง และเข้าใจดีถึงทฤษฎีการพัฒนาประเทศ ความเสมอภาค และความยุติธรรมทางสังคม
แหล่งงานสำหรับบัณฑิตสาขาวิชาบริหารรัฐกิจ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์
1. แหล่งงานภาครัฐ บัณฑิตสาขาวิชานี้สามารถทำงานด้านบริหาร นโยบาย และแผนงานได้ทุกหน่วยราชการ ทุกกระทรวง ทบวง กรม กอง เช่น ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่ประสานงาน เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล เลขานุการบริหาร นักวิชาการศึกษา ฯลฯ สำหรับผู้ที่มีความรู้ภาษาอังกฤษ หรือ ภาษาต่างประเทศดีก็สามารถทำงานเป็นเจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์ หรือ นักการทูตได้ สำหรับในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และองค์กรมหาชนก็มีตำแหน่งคล้ายคลึงกับหน่วยงานราชการ
2. แหล่งงานภาคเอกชน ตามที่ได้กล่าวแล้วว่า บัณฑิตสาขาวิชานี้ได้เรียนรู้ความรู้ และเครื่องมือทางการบริหารงานมากกว่าสาขาอื่นๆ ของวิชารัฐศาสตร์จึงทำให้บัณฑิตสามารถนำความรู้เทคนิคด้านการบริหารจัดการไปใช้ในการทำงานภาคเอกชนได้ดีในการบริหารงานทุกระดับของบริษัท โดยเฉพาะบัณฑิตที่มีความรู้การคำนวณ และภาษาดี ขอบข่ายงานก็ยิ่งจะกว้างขวางมากขึ้น เช่น นักวิเคราะห์โครงการ นักวิเคราะห์การลงทุน นักวิเคราะห์ระบบงาน นักบริหารองค์การระดับสูงที่สามารถวิเคราะห์การบริหารเศรษฐกิจมหภาคได้
การศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา
บัณฑิตสาขาวิชาบริหารรัฐกิจ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์ สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท หรือ เอก ในกลุ่มสาขาสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ได้เกือบทุกสาขา เช่น บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา ปรัชญา ภาษาศาสตร์ จิตวิทยา นิเทศศาสตร์ ครุศาสตร์ และ รัฐศาสตร์ ทุกสาขาวิชาเอก เป็นต้น
บุคคลที่มีชื่อเสียงและสำเร็จการศึกษาสาขาวิชาบริหารรัฐกิจ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี (รป.บ. (ตำรวจ)) กวาง (กมลชนก เขมะโยธิน) อู๋ (ธนากร โปษยานนท์) พี่กี้ (อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง) เม หรือ Mé (จีระนันท์ - - RS) สว. ระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช ดร.รุ่ง แก้วแดง (รมช.ศึกษาธิการ) คุณหญิงณฐนนท ทวีสิน (ปลัดกรุงเทพมหานคร) นางจุฑามาศ ศิริวรรณ (ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย) และ ผู้ว่าราชการจังหวัดอีกมากมายทั่วประเทศ